จุดกำเนิดและความเป็นมาของ โลจิสติกส์ ที่คุณไม่เคยรู้ !

ตอบกระทู้

รหัสยืนยัน
ให้พิมพ์รหัสตามที่เห็นในรูปภาพ กรุณาพิมพ์ตัวอักษรเล็ก-ใหญ่ให้ถูกต้อง และไม่มีเลขศูนย์
รูปแสดงอารมณ์
:D :) ;) :( :o :shock: :? 8-) :lol: :x :P :oops: :cry: :evil: :twisted: :roll: :!: :?: :idea: :arrow: :| :mrgreen: :geek: :ugeek:

BBCode เปิด
[img] เปิด
[flash] ปิด
[url] เปิด
[Smile icon] เปิด

กระทู้แนะนำ
   

มุมมองที่ขยายได้ กระทู้แนะนำ: จุดกำเนิดและความเป็นมาของ โลจิสติกส์ ที่คุณไม่เคยรู้ !

จุดกำเนิดและความเป็นมาของ โลจิสติกส์ ที่คุณไม่เคยรู้ !

โดย geekcon » 26 พ.ย. 2020 15:59

ทำความรู้จักกับ ‘โลจิสติกส์’

ทุกคนคงเคยได้ยินคำว่า ‘โลจิสติกส์’ หรือ ‘ลอจิสติกส์’ (logistics) กันอยู่บ่อยๆ ซึ่งคำว่า โลจิสติกส์ มาจากภาษาฝรั่งเศสคำว่า logistique ที่มีรากศัพท์คำว่า โลเชร์ (loger) ที่หมายถึงการเก็บ ซึ่งความหมายจริงๆ ของมันก็คือ ระบบการจัดการการส่งสินค้า ข้อมูล และทรัพยากรอย่างอื่นจากจุดต้นทางไปยังจุดบริโภคตามความต้องการของลูกค้า โลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับการผสมผสานของ ข้อมูล การขนส่ง การบริหารวัสดุคงคลัง การจัดการวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ โลจิสติกส์เป็นช่องทางหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานที่เพิ่มมูลค่าของการใช้ประโยชน์ของเวลาและสถานที่

พูดง่ายๆ ก็คือ การเคลื่อนย้าย จัดเก็บ กระจายสินค้า บริการ หรือข้อมูลจากแหล่งที่ผลิตไปถึงแหล่งที่มีความต้องการ ด้วยกระบวนการแบบบูรณาการ โดยเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีเป้าหมายในการส่งมอบแบบทันเวลาและเพื่อลดต้นทุน สร้างความพอใจแก่ลูกค้า และส่งเสริมให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการ

รูปภาพ
ประวัติศาสตร์และความสำคัญของโลจิสติกส์

จุดกำเนิดของบริการด้านโลจิสติกส์มาจากกองทัพอังกฤษก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่มีการจัดระบบการส่งกำลังบำรุงทางทหาร มีการสร้างสาธารณูปการ เช่น ถนน รถไฟ ท่าเรือ สนามบิน สถานที่จัดเก็บสินค้า รวมทั้งยานพาหนะที่ใช้ในการลำเรียงอาวุธยุทโธปกรณ์ ก่อนจะมีวิวัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปลายศตวรรษที่ 19 สหรัฐอเมริกาได้เริ่มมีการกระจายสินค้าด้านพืชผลทางการเกษตรก็มีการแลกเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์กันอย่างแพร่หลายทั่วทวีปอเมริกา ต่อมาประมาณปี ค.ศ. 1870 ก็มีการจัดรูปแบบการกระจายสินค้าด้านอุตสาหกรรมมากขึ้นเป็นลำดับ จนเกิดศาสตร์ทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management Science) อย่างเป็นทางการขึ้นที่สหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1964 และภาคเอกชน ก็ได้นำเอาแนวคิดการจัดการโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจจนถึงปัจจุบัน

สำหรับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม โลจิสติกส์ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในการช่วยลดต้นทุน เพื่อสร้างกำไรทางธุรกิจได้มากขึ้น รวมถึงนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการแข่งขันทางธุรกิจ ทั้งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการลูกค้า สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนเป็นพื้นฐานของการเจริญเติบโตของธุรกิจทำให้เกิดความรวดเร็วอันเนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

รูปภาพ

การที่จะทำอย่างนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น โลจิสติกส์ จำเป็นต้องมีศาสตร์แขนงต่างๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งมีศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ศาสตร์ คือ
· วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
· บริหารธุรกิจ ทำหน้าที่ดูแลในเรื่องของการขนส่งระหว่างประเทศโดยจะพิจารณา ภาษี กฎหมาย ค่าระวาง นโยบายหรือยุทธศาสตร์ทางด้านโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศ และ การค้าระหว่างประเทศเพื่อนำมาประกอบ การวางแผนการขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ
· การจัดการสารสนเทศ ทำหน้าที่ศึกษาในส่วนของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ นำมาควบรวมกัน เป็นบริการที่จะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมทางโลจิสติกส์มีความคล่องตัวมากขึ้น

ประเภทของโลจิสติกส์

การจัดการโลจิสติกส์สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะของบทบาทหน้าที่มหภาคของประเทศ ได้ดังนี้
1. การจัดการโลจิสติกส์ด้านการทหาร (Military Logistics Management) หมายถึงการจัดการการจัดส่งกำลังบำรุงด้านการทหาร เช่น ยุทโธปกรณ์ ปัจจัยสี่ การรักษาพยาบาลและสารสนเทศ เพื่อมุ่งหวังชัยชนะทางทหารเป็นสำคัญ
2. การจัดการโลจิสติกส์ด้านวิศวกรรม (Engineering Logistics Management) หมายถึงการจัดการด้านการวิศวกรรมจัดส่งลำเรียง อันได้แก่การสร้าง การบูรณาการและการบำรุงรักษาสาธารณูปการ ทั้งระบบขนส่งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางท่อ ระบบการจัดเก็บและระบบสารสนเทศ เพื่อมุ่งหวังความพร้อมในระบบการจัดเก็บและการจัดส่งลำเรียงทั้งระบบเป็นสำคัญ
3. การจัดการโลจิสติกส์ด้านธุรกิจ (Business Logistics Management) หมายถึงการจัดการด้านการจัดเก็บและจัดส่งสินค้า คน สัตว์ สิ่งของ จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งตามที่มนุษย์ต้องการ เพื่อมุ่งหวังความสำเร็จทางธุรกิจเป็นสำคัญ

ทั้งหมดนี้ น่าจะทำให้ทุกคนรู้จักคำว่าโลจิสติกส์มากขึ้นและคงเห็นภาพชัดเจนขึ้นด้วยว่ามันเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเรามากๆ เรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของทุกคน และยังเป็นระบบที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของโลกเลยก็ว่าได้

ข้างบน